“หมอกบ่วาย”พืชสมุนไพรเทวดาที่ใกล้สูญพันธ์

“หมอกบ่วาย” พืชสมุนไพรเทวดาที่ใกล้สูญพันธุ์

พิกัด : แหล่งอนุรักษ์พืชสมุนไพรไทยสวนเกษตรจิดาภา   ตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

หมอกบ่วาย นี้สมุนไพรพืชล้มลุก ย้อนไปในอดีตหมอพื้นบ้านในภาคอีสานใช้ต้นแห้งนำมาดองกับเหล้าเพื่อรักษาโรคท้องมาน ส่วนต้นสดจะนำมาขยี้ ทาแก้ขี้กลาก เกลื้อน ส่วนในตำรายาไทย ใช้ทั้งต้นกินแก้โรคบิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ และแก้ไข้มาลาเรีย ชาวบ้านจึงเรียกกันหลายชื่อ เช่น จอกบ่วาย หรือน้ำค้างกลางเที่ยง ชาวบ้านสมัยโบราณต่างยกย่องให้เป็นสมุนไพรเทวดาคุณสมบัติต้านอักเสบ ยาคลายการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ในตำราแพทย์แผนไทยใช้สมุนไพรนี้รักษาโรคท้องมานในอดีต ซึ่งสาเหตุของโรคท้องโตนี้ มาจากการเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ หรือจากไข้มาลาเรียทำให้ตับม้ามโตได้เหมือนกัน ที่ประเทศบราซิลพบว่าพืชชนิดนี้ มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านมะเร็งได้ ในประเทศแถบยุโรป ได้นำพืชสกุลนี้มาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ นำมาใช้เป็นยาแก้ไอ โดยพบว่า ใบของพืชชนิดนี้ ซึ่งมีเมือกเหนียวๆ ใสๆ อาจเกิดการระคายเคืองได้  ลักษณะลำต้นจะแนบอยู่กับพื้นดิน ใบเป็นกระจุกแบบกุหลาบซ้อนหนาแน่นที่โคนแนบชิดติดดิน เส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 1.5 – 3 ซม. แผ่นใบเป็นแผ่นมนรีรูปไข่กลับหรือทรงกลม ค่อนข้างหนา กว้างประมาณ 0.5-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.6-1.5 ซม. ที่ใบจะมีขนเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก มีสีแดงเรื่อถึงแดง ปลายขนจะมีเมือกใสเกาะอยู่ คล้ายกับหยาดน้ำค้าง ดอกดอกออกใจกลางต้น ตั้งตรง ช่อดอกสูง 5 -15 ซม. กลีบดอกมีสีขาว ในตำรายาอีสานของไทย ระบุว่า หมอกบ่วายเป็นยาแก้เลือดออกทางขุมขน ซึ่งน่าจะมาจากปัญหาตับวายทำให้เลือดออกง่าย เพราะฉะนั้นสมุนไพรหมอกบ่วาย น่าจะอนุรักษ์และทำการศึกษาวิจัยในทิศทางอาจใกล้เคียงกันกับต่างประเทศ หากได้ผลดีก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง โดยเฉพาะอาจเป็นข่าวดีของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้  จากการสำรวจสมุนไพรดังกล่าว พบว่ามีเหลือน้อยมาก ใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกนายทุนบุกรุกที่ปลูกพืชยืนต้นอื่นแทนขณะนี้มีผู้คนน้อยมากที่จะรู้จักสมุนไพรหมอกบ่วายตัวนี้ แม้แต่ชาวบ้านหนองคายก็ไม่รู้จัก ซึ่งในพื้นที่ สวนเกษตรจิดาภา มีการขยายพันธ์ตามธรรมชาติของพืชสมุนไพรหายากดังกล่าว