สงครามปราบฮ่อ

หนองคายมีเรื่องเล่า “สงครามปราบฮ่อ”วีรกรรมชาวบ้านหนองคาย
พิกัด:ลานอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ย้อนเหตุเหตุการณ์เมื่อปี พุทธศักราช 2427 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯเกิดกลุ่มโจรฮ่อ รวบรวมไพร่พลกลายเป็นกองทัพเข้าโจมตีหัวเมืองต่างๆเที่ยวไล่ปล้นสะดมชาวบ้านในสร้างความเดือดร้อนไปทั่วสยาม  จึงมีพระบรมราชโองการให้ พระยาราชนุกูล และ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ยกกองทัพหลวงขึ้นไปปราบกลุ่มโจรจีนฮ่อออกไปจากแผ่นดินสยามให้สิ้น  ครั้งนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม คุมกองทัพร่วมสมทบ โดยนำปืนใหญ่ไปยิงถล่มค่ายกลุ่มโจรจีนฮ่อ ที่ทุ่งเชียงคำ ทั้งนี้ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม รวมรวมไพร่พลสมัครใจในการเข้าร่วมกองทัพเป็นพลอาสาสมัครจากชาวบ้าน จังหวัดหนองคายเข้าร่วม  อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ แห่งแรกที่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม โปรดให้สร้างอดีตอยู่บริเวณ หน้าสถานีตำรวจเมืองหนคาย จนกระทั่งพื้นที่ดังกล่าวแออัคณะกรรมการจังหวัดหนองคายจึงมีมติ ให้กรมศิลปากรจัดดำเนินการย้ายมาสร้างใหม่โดยใช้พื้นที่หน้าศาลากลางหลังเก่า คนจังหวัดหนองคายรู้จักกันดีเรียกว่า ลานอนุเสารีย์ปราบฮ่อ กลางเมือง ดังกล่าว

เหตุการณ์สงครามปราบฮ่อถูกบันทึกในพงศาวดารมีการกล่าวถึง กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในสมัย ดำรงยศ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม พระองค์ได้มาตั้งทัพสร้างค่ายบนแผ่นดินหนองคาย และมีการประกาศรับสมัครไพร่พลชาวบ้านหนองคาย ร่วมเป็นทหารอาสาร่วมรบทัพจับศึกกับกองทัพหลวงจนสามารถไล่กลุ่มโจรจีนฮ่อพ้นจากแผ่นดินสยามในที่สุด